วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2562

6st learning record

                                                  03 September 2019



                         สำหรับการเรียนในวันนี้นะคะอาจารย์ได้พูดถึงบทความเรื่องเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับเด็กปฐมวัย ว่าในบทความนั้นเขาได้บอกแนวทางในการจัดการเรียนการสอน วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย พูดถึงเรื่องการเขียนบทความ ต้องมีแหล่งที่มาหลายๆแหล่ง ได้ประมวลมาสกัดจน ออกมาเป็นแนวทางหลักการสั้นๆง่ายๆ อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย สิ่งเหล่านี้จะเป็นตัวเชื่อมโยงในการสรุปสั้นๆ
 ประดิษฐ์ของเล่น
ประดิษฐ์ของเล่นเราจะให้เด็กทำในช่วงไหน ช่วงศิลปะสร้างสรรค์ การประดิษฐ์เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมศิลปะ การเล่นสี ให้ได้ในเชิงวิทยาศาสตร์ได้หรือไม่ ถ้าสมมุติว่าไปสีน้ำเราจะให้เด็กเล่น เป็นวิทยาศาสตร์ ได้อย่างไร
วิทยาศาสตร์คือเรื่อง สิ่งต่างๆรอบตัวที่เป็นทางธรรมชาติ และสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมชาติ สิ่งต่างๆ สิ่งใดก็แล้วแต่เรียกว่าวิทยาศาสตร์ สาระที่อยู่ในหลักสูตรมีทั้งหมดกี่กลุ่ม เพื่อให้ง่ายขึ้นศาลที่ควรรู้ มีทั้งหมด 4 กลุ่ม
·          สิ่งต่างๆรอบตัว
·         ธรรมชาติรอบตัวเด็ก
·          บุคคลและสถานที่
 การปฏิบัติการพูด ฉะนั้นเราต้องหาวิธี
4เรื่องที่กำหนดในหลักสูตร
        1. เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
        2.บุคคลสถานที่ สภาพแวดล้อม
        3. สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก
        4.ธรรมชาติรอบตัวเด็ก

นี่คือวิทยาศาสตร์ทั้งหมด แต่ในวิทยาศาสตร์ทั้งนี้ บางอย่างเราต้องรู้เพราะมีผลกระทบในชีวิตเรา แล้ววิทยาศาสตร์ก็จะมีประโยชน์
 วิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร
ที่ไหนที่วิทยาศาสตร์เข้าไปไม่ถึงที่นั่นก็ ยังคงไว้ซึ่งธรรมชาติ จริงๆวิทยาศาสตร์ก็ยังคงอยู่ได้ เอานำเอาวิทยาศาสตร์มาสร้างไว้เพื่อความเจริญ วิทยาศาสตร์ทำให้การดำรงชีวิตสะดวกสบายขึ้น
 เช่นการตักน้ำ ตอนนี้มีน้ำประปา เพราะเราใช้วิทยาศาสตร์ นำมาใช้ในการ สะดวกสบายมากขึ้น นอกจากนี้ก็ยังมีวิทยาศาสตร์ทำลาย เช่น มลพิษ คำว่าอนุรักษ์ซึ่งมาในที่นี้ ต่างจากกับคำว่าขั้น อนุรักษ์ เช่นน้ำเท่ากัน ที่มีแก้วในรูปทรงเตี้ยกับทรงสูง พอใส่แล้วปรากฏว่าน้ำทรงสูง ดูมากกว่าน้ำทรงเตี้ย ในขณะที่ปริมาณน้ำเท่ากัน และถ้าเด็กบอกว่า น้ำในแก้วทรงสูงๆมากกว่าน้ำในแก้วทรงเตี้ย แปลว่าเด็ก บอกตามที่ตาเห็น แต่ถ้าเด็กบอกได้ว่าน้ำ 2 แก้วนี้มีจำนวนเท่ากัน แต่ในระดับน้ำที่ต่างกันแสดงว่าเด็กใช้ เหตุและผล แสดงว่าเด็กผ่านขั้นอนุรักษ์ วิทยาศาสตร์ที่สร้างและบำรุงรักษา ในหลักสูตรได้พูดถึง สภาพที่พึงประสงค์ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ประสบการณ์สำคัญในเชิงวิทยาศาสตร์ ทักษะที่สำคัญในเชิงวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง
ทักษะและกระบวนการในเชิงวิทยาศาสตร์มีดังนี้
ทักษะข้อมูลพื้นฐานมีทั้งหมด 8 ทักษะ
·          ทักษะการสังเกต
·         ทักษะการวัด
·          ทักษะการจำแนก
·          การใช้ความสัมพันธ์ ระหว่าง Space กับเวลา
·          ทักษะการคํานวณ และการใช้จำนวน
·         ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
·          ทักษะพยากรณ์

และอาจารย์ได้อธิบายถึง 13 ทักษะ ด้วยกัน



             1. ทักษะการสังเกต
หมายถึงการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันได้แก่ตาหูจมูกลิ้นและผิวกายเข้าไปสัมผัสโดยตรงกับวัตถุหรือเหตุการณ์โดยมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ
ข้อมูลที่ได้จากการสังเกตมี 3 ประเภทคือ
         ข้อมูลเชิงคุณภาพ
         ควรแยกเป็นข้อสั้นๆเพื่อตรวจสอบง่าย
          อย่าใส่ความรู้เดิม หรือคาดคะเนลงไปด้วยต้องเป็นการสังเกตที่ตรงไปตรงมา
              2.  ทักษะการวัด
หมายถึงการเลือกและการใช้เครื่องมือทำการวัดปริมาณของสิ่งต่างๆออกเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง
             3.ทักษะการใช้ตัวเลขการคำนวณ
หมายถึงการนำเอาตัวเลขที่ได้จากการวัดการสังเกตการทดลองและจากแหล่งอื่นๆมาจัดกระทำให้เกิดค่าใหม่เช่นการบวกการลบการคูณการหารการหาค่าเฉลี่ยการยกกำลังเป็นต้นเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความหมายซึ่งจะนำไปใช้ประโยชน์ในการตีความหมายและลงข้อสรุปต่อไป
              4.   ทักษะการจำแนกประเภ
หมายถึงการจำแนกหรือจัดจำพวกวัตถุหรือเหตุการณ์ออกเป็นประเภทต่างๆโดยมีเกณฑ์ในการจำแนกหรือจำพวกเกณฑ์ที่ใช้อาจพิจารณาจากลักษณะที่เหมือนกันหรือแตกต่างกันหรือสัมพันธ์กันอย่างไรอย่างหนึ่งก็ได้
              5.  ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา
Space หมายถึงที่ว่างหรืออวกาศสเปคของวัตถุหมายถึงทางที่วัตถุนั้นคลองหรืออยู่อาศัยการสืบพันธุ์ประโยชน์เป็นต้น
วัตถุกับเวลาหรือความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนขนาดหรือปริมาณของวัตถุกับเวลาอาจกล่าวโดยภาพรวมได้ว่าการใช้ความสัมพันธ์เกี่ยวกับสเปสหมายถึงความสามารถในการระบุความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่อไปนี้คือ
         ความสัมพันธ์ระหว่างสองมิติกับสามมิติ
         สิ่งที่อยู่หน้ากระจกเงากับภาพที่ปรากฏในกระจกเงาว่าจะเป็นซ้ายขวาของกันและกันอย่างไร
         ตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุหนึ่งกับอีกวัตถุหนึ่ง
         การเปลี่ยนแปลงตำแหน่งที่อยู่ของวัตถุกับเวลาหรือสเปสของวัตถุที่เปลี่ยนไปกับเวลา
 6.  ทักษะการสื่อความหมายของข้อมูล
การสื่อความหมายหมายถึงการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตการวัดการทดลองและจากแหล่งอื่นๆมาจัดกระทำเสียใหม่โดยอาศัยวิธีการต่างๆเช่นการจัดลำดับการจัดหมวดหมู่หรือการคำนวณหาค่าใหม่ทั้งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้และหรือให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูลนั้นๆดีขึ้น
 7. ทักษะการลงความคิดเห็น
หมายถึงการนำข้อมูลที่ได้จากการสังเกตวัตถุหรือปรากฏการณ์ใดสัมพันธ์กับความรู้หรือประสบการณ์เดิมเพื่อลงข้อสรุปหรืออธิบายปรากฏการณ์หรือวัตถุนั้น
 8.  ทักษะพยากรณ์
หมายถึงการทำนายหรือการคาดคะเนสิ่งที่จะเกิดขึ้นล่วงหน้าโดยอาศัยข้อมูลที่ได้จากการสังเกตหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำซ้ำ
 9.  ทักษะการตั้งสมมติฐาน
หมายถึงการคิดหาคำตอบล่วงหน้าก่อนที่จะทำการทดลองโดยอาศัยการสังเกตความรู้ประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐานคำตอบที่คิดล่วงหน้านี้ยังไม่ทราบหรือเป็นหลักการกฎหรือทฤษฎีมาก่อน
 10. ทักษะการกําหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ
หมายถึงการกำหนดความหมายและขอบเขตของคำต่างๆในสมมติฐานที่ต้องการทดลองให้เข้าใจตรงกันและสามารถสังเกตหรือวัดได้ความสามารถที่แสดงว่าเกิดทักษะแล้ว คือสามารถกำหนดความหมายและขอบเขตของคำหรือตัวแปรต่างๆให้สังเกตและวัดได้
11. ทักษะการกําหนดและควบคุมตัวแปร
หมายถึงการชี้บ่งตัวแปรตัวแปรตามและตัวแปรที่ต้องควบคุมในสมมติฐาน หนึ่งๆ
12. ทักษะการทดลอง
หมายถึงกระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบของสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือความสามารถในการดำเนินการตรวจสอบสมมติฐานโดยการทดลองโดยเริ่มตั้งแต่การออกแบบการทดลองการปฏิบัติการทดลองตามขั้นตอนที่ออกแบบไว้ตลอดจนการใช้วัสดุอุปกรณ์อย่างถูกต้องและการบันทึกผลการทดลอง
13. ทักษะการแปลความหมายข้อมูล
การแปลความหมายข้อมูลหมายถึงการตีความหมายหรือกระหรือการบรรยายลักษณะเพื่อสรุปความสัมพันธ์ของข้อมูลทั้งหมด

                       รูปภาพบรรยากาศในการเรียนรู้





                             คำศัพท์
                                                  VOCABULARY

1. Observing   ทักษะการสังเกต
2. Measuring   ทักษะการวัด
3. Clssifying    ทักษะการจำเเนกหรือทักษะหรือทักษะการจัดประเภทสิ่งของ
4. Using Space/Relationship  ทักษะการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา
5. Using Numbers   ทักษะการคำนาณเเละการใช้จำนวน
6. Comunication      ทักษะการจัดกระทำเเละสื่อความหมายข้อมูล
7. Inferring         ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล
8. Predicting    ทักษะการพยากรณ์
ผู้บันทึกนางสาว เบญจวรรณ ปานขาว
เลขที่ 10 รหัสนักศึกษา 6011200786
สาขาการศึกษาปฐมวัย



14st learning recor                                        27 November 2019  การเรียนในครั้งอาจารย์ให้ทำเเผนผัง เรื่อง เทคนิคการสอน...