วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2562

5st learning record

                                                 28 August 2019

สำหรับการเรียนในวันนี้นะคะ่อาจารย์ให้ไปร่วมกิจกรรมของคณะศึกษาศาสตร์ภายในงาน มีกิจกรรมของแต่ละสาขา แต่ละกิจกรรมนั้น จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้สนุกสนานและได้ความรู้เพิ่มมากขึ้น แต่ละกิจกรรมก็จะมีเล่นเกมต่างๆเล่นกิจกรรมเสร็จก็จะมีแจกของรางวัล บางกิจกรรมเล่นเพื่อให้เกิดความรู้บางกิจกรรมเล่นเพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน และสิ่งที่ดิฉันประทับใจที่สุดในกิจกรรมนั้น เป็นกิจกรรมการตอบคำถามเพื่อวัดความรู้ และกิจกรรมให้เราจับคำถามขึ้นมาแล้วจะมีบอร์ดให้เราหาคำตอบ เป็นการทดสอบความรู้ แล้วก็จะมีแจกของรางวัลอื่นๆอีกมากมาย





รูปภาพบรรยากาศภายในงาน










   คำศัพท์
 VOCABULARY
1.Activities       กิจกรรม
2.knowledge     ความรู้
3.Test                 ทดสอบ
4.Evaluation      ประเมินผล
5.Question         คำถาม






ผู้บันทึกนางสาว เบญจวรรณ ปานขาว
เลขที่ 10 รหัสนักศึกษา 6011200786
สาขาการศึกษาปฐมวัย



วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2562

4st learning record


                                                    18 August 2019



  การเรียนในครั้งนี้ ครั้งนี้ได้ไปศึกษานอกสถานที่ เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ที่ IMPACT Challenger,Muang Thong Thani
ภายในงาน มีกิจกรรม เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ก็จะมีซุ้มต่างๆที่น่าสนใจ


 นิทรรศการเทิดพระเกียรติ พระบิดาแห่งเทคโนโลยีของไทยและพระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย พระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพตร รัชกาลที่ 9 ร่วมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณและพระอัจฉริยภาพด้านการประดิษฐ์ คิดค้นนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาด้านดินและน้ำให้กับพสกนิกรชาวไทย 
●พบกับแกลลอรี่ภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการทรงงานด้านศิลปะศาสตร์วิทยาศาสตร์วิศวกรรมและการเป็นนักประดิษฐ์ 
●เทคโนโลยีนวัตกรรมที่ทรงใช้เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศกังหันน้ำชัยพัฒนาฝนหลวงและนวัตกรรมแกล้งดิน
นิทรรศการพินิจพิพิธ - พันธุ์ (Biodiversity AMUSE -um)
นิทรรศการพลาสติกพิษณุโลก
(Plastic Changed the World)
 นิทรรศการ Maker Space Space : ย้อนอดีตสิ่งประดิษฐ์พริกความคิดสู่อนาคต (Evenyone can be an Engineer)
นิทรรศการข้าวคือชีวิต
 (Rice is Life)
นิทรรศการเทิดพระเกียรติ
(Royal Pavilion)
นิทรรศการภารกิจพิชิตดวงจันทร์
(Mission to the Moon)
นิทรรศการนิโคลา เทศลา ยอดนักประดิษฐ์ผู้คิดเปลี่ยนโลก
(Nikola Tesla The Man Who Changed the World)
นิทรรศการเทิดพระเกียรติพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
นิทรรศการมหัศจรรย์เมืองแห่งธาตุ
(The Miracle of Element City)
 นิทรรศการต่างประเทศ
LEGO @ Space Challenge Land

ภายในงานจะมีกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งปี เนื่องในสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
VISITOR GUIDE
มหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

 แหล่งที่ดิฉันสนใจ
กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
คุณภาพน้ำฝนจากการปฏิบัติการฝนหลวง การปฏิบัติฝนหลวงในปัจจุบันมีการใช้สารฝนหลวงซึ่งอาจก่อให้เกิดความกังวลถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สารฝนหลวงกรมฝนหลวงและการบินเกษตรจึงดำเนินการประเมินคุณภาพน้ำฝนออกจากปฏิบัติการฝนหลวงโดยร่วมมือกับหน่วยงานที่มีความ เชี่ยว ชาญในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำฝนตั้งแต่ปีพศ 2522 จนถึงปัจจุบัน


 วัตถุประสงค์
1 เพื่อประเมินคุณภาพน้ำฝนที่ได้จากการปฏิบัติการฝนหลวงทางกายภาพและทางเคมี
2 เพื่อพัฒนาและดำเนินการระดับเฝ้าระวังคุณภาพน้ำฝนจากการปฏิบัติการฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
   ประโยชน์ด้านวิชาการ มีระบบเฝ้าระวังเพื่อติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำฝนจากการปฏิบัติการฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง
》 ประโยชน์ด้านสังคมและชุมชน สร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและสังคมในการใช้น้ำฝนจากการปฏิบัติการฝนหลวงในการอุปโภคบริโภคและการใช้ประโยชน์ทางการเกษตร
》 หน่วยงานที่ได้รับประโยชน์ กรมฝนหลวงและการบินเกษตรกระทรวงเกษตรสหกรณ์และประชาชนทั่วไป


                                                     มีทั้งหมด 10 ด่านด้วยกัน


                                                ภาพบรรยากาศการจัดกิจกรรมภายในงาน


 กิจกรรมเครื่องบินจำลอง


ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศกองทัพบก
 คุณลักษณะของผลงาน
ดาวเทียมกระป๋องเป็นอุปกรณ์ใช้จำลองการทำงานของดาวเทียมมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศโดยกำหนดให้มีขนาดเล็กเท่ากับกระป๋องน้ำอัดลมจะถูกปล่อยที่ความสูงประมาณ 100 ถึง 400 เมตร จากเพอร์ฟอร์มต่างๆ เช่น อวกาศยาน จรวด หรือบอลลูน จะปฏิบัติภารกิจทางวิทยาศาสตร์ที่กำหนดไว้ก่อนตกถึงพื้น

การนำไปใช้ประโยชน์
เป็นโครงการอวกาศขนาดเล็กที่มุ่งเน้นการปฏิบัติจริงเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาในหลายด้านเช่นการเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบดาวเทียมการกำหนดภารกิจการสร้างและประกอบดาวเทียมการทดสอบการเตรียมตัวปล่อยขึ้นสู่อวกาศและการวิเคราะห์ปัญหานักศึกษาจะได้เรียนรู้ทักษะในการทำงานเป็นทีมรวมถึงบริหารจัดการโครงการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายภายใต้ข้อจำกัดต่างๆได้


 หุ่นยนต์อเนกประสงค์
หน่วยวิจัยสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก คุณลักษณะของผลงาน ต้นแบบหุ่นยนต์อเนกประสงค์ ขนาดพกพา โดยการผลิตขึ้นส่วนต่างได้สำเร็จ เช่นชุดแบตเตอรี่ ชุดล้อยางขับเคลื่อน ชุดวงจรควบคุมและรีโมทควบคุมเป็นต้น

การนำไปใช้ประโยชน์ใช้
เป็นต้นแบบและหลักเกณฑ์ในการพัฒนาหุ่นยนต์ขนาดเล็กที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของผู้ใช้ผลลัพธ์และผลผลิตที่ได้นั้นมีมากกว่าเพียง ค้นแบบของหุ่นยนต์ ยังได้รับทั้งองค์ความรู้ในแง่มุมของการวิจัย และพัฒนานวัตกรรม


Plearn Science
สร้างทักษะให้หนูน้อยฉลาดรู้ฉลาดคิดกับมิติใหม่ของการเรียนรู้ปฐมวัยผ่านสื่อออนไลน์ Mool
เริ่มต้นด้วย 7 หลักสูตรแรก

  1. พัฒนาการสำหรับเด็กปฐมวัย
  2. พัฒนาการสำหรับเด็กประถมศึกษาตอนต้น
  3. แนะนำกิจกรรมสำหรับพัฒนาการด้านต่าง
  4. กิจกรรมเรื่องน้ำ
  5. กิจกรรมเรื่องอากาศ
  6. กิจกรรมเรื่องร่างกาย
  7. กิจกรรมเรื่องสิ่งมีชีวิต

    



  กิจกรรมปล่อยก๊าซเรือนกระจกในบ้าน
☆ อาบน้ำเปิดเครื่องทำน้ำอุ่น 1 ครั้งปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2.9 กิโลกรัมอาบน้ำเปิดเครื่องทำน้ำอุ่นอุ่น 1 ครั้งปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2.9 kg คาร์บอนไดออกไซด์
☆ ดูโทรทัศน์จอ LCD 1 ชั่วโมงปล่อยก๊าซเรือนกระจก 400 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์
☆ ทานข้าวกะเพราไก่ไข่ดาวปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1.3 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อจาน
☆ ใช้โทรศัพท์มือถือ 3 ชั่วโมงปล่อยก๊าซเรือนกระจก 10 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์


 ลดก๊าซเรือนกระจกน้องๆก็ช่วยได้
ปิดน้ำประปาเมื่อไม่ใช้ประหยัด 1 หน่วยคิวบิกเมตรลดก๊าซเรือนกระจก 0.7 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ปิดไฟเมื่อไม่ใช้ประหยัด 1 หน่วยกิโลวัตต์ ลดก๊าซเรือนกระจก 5.66 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์

เปลี่ยนหลอดเป็น LED ลดก๊าซเรือนกระจก 43.8 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์

เสื้อผ้าครูหมดใส่สบายไม่ต้องเร่งแอร์รถก๊าซเรือนกระจก 73 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อเดือน

ติดโซล่าเซลล์ลดก๊าซเรือนกระจก 0.56 6 1 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อกิโลวัตต์



ภารกิจพิชิตดวงจันทร์

 บิดาแห่งจรวด 
Robert Goddard
 โรเบิร์ตก็อดเดิร์ด
ด้วยแรงบันดาลใจจากการอ่านนิยายวิทยาศาสตร์ ในช่วงมัธยมเขาเลือกจะศึกษาต่อเพื่อเป็นอาจารย์ที่ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี 1919 ทัศนคติแบบสูตรได้โด่งต่อจรวดของเขาถูก ตีพิมพ์ไว้ในตี
พิมพ์ไว้ในเอกสารที่ชื่อ A method of Reaching Extreme Altitudes เขากะว่าท้ายที่สุดแล้วจรวดจะไม่เพียงแค่เดินทางในชั้นบรรยากาศเท่านั้นสักวันหนึ่งจรวดจะทรงพลังพอที่จะมีแรงดึงดูดของโลกทำให้มนุษย์สามารถเดินทางท่องอวกาศได้อย่างอิสระรวมถึงการเดินทางไปดวงจันทร์

ก่อนหน้านี้โลกได้รู้จักกับจรวดเชื้อเพลิงแข็งเช่นบ้างไฟล์และพลุดอกไม้ไฟต่างๆแต่สิ่งประดิษฐ์ของโรเบิร์ตก็อดเดิร์ดทำให้การเดินทางด้วยจรวดนั้นเป็นไปได้จริงจากเดิมที่จรวดเมื่อจุดแล้วจะไม่สามารถหยุดหรือควบคุมทิศทางได้จรวดของก๊อตเป็นจรวดที่ใช้การผสมกับกันระหว่างสาร 2 ประเภทได้แก่เชื้อเพลิงและออกซิไดเซอร์จึงสามารถเปิดและปิดเครื่องยนต์ได้ตามต้องการแม้ว่าจรวดลำแรกที่เขาประดิษฐ์ขึ้นมาพุ่งขึ้นสูงแค่ 12.5 เมตรและมีเวลาอยู่ในอวกาศเพียงแค่ 2.5 วินาทีเท่านั้นแต่ก็นับเป็นก้าวแรกของการสำรวจอวกาศ


รูปที่ระลึกจากไทยพีบีเอสช่องดิจิตอล



สนุกสุขสร้างสรรค์กับรายการเด็กไทยพีบีเอสช่องดิจิตอลหมายเลข 3

                                                   รูปภาพบรรยากาศภายในงาน




     คำศัพท์
 VOCABULARY
1. Space     อวกาศ
2. Analyze     วิเคราะห์
3. Nature     ธรรมชาติ
4.Industry     อุตสาหกรรม
5. Environmemt       สิ่งเเวดล้อม





3st learning record

    17 August 2019


                                       การเรียนในครั้งนี้ อาจารย์ให้แยกตามกลุ่ม
 แต่ละกลุ่มก็ จะมีหัวข้อที่ต้องค้นหาข้อมูล กลุ่มของดิฉัน หาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง หินดินทราย แล้วข้อมูลที่ดิฉันหามีดังนี้
คุณสมบัติที่มา
ทราย (sand) เป็นหินแข็งที่แตกแยกออกมาจากก้อนหินใหญ่ โดยทรายจะแยกตัวออกมาได้เองตามธรรมชาติ ทรายมีขนาดระหว่าง 1/12 นิ้วถึง 1/400 นิ้ว ถ้ามีขนาดเล็กกว่านี้จะมีสภาพเป็นฝุ่นทราย จะประกอบด้วยแร่ควอตซ์หรือหินบะซอลต์ ทรายแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ ทรายบกและทรายแม่น้ำ

ประโยชน์ ของทราย
 1 การก่อสร้าง
 2 ใช้ในการสร้างทาง
 3 ใช้ทำกระดาษทราย
 4 ใช้ทำเครื่องจักร
 5 ใช้โดยทำทางรถไฟ
 6 ใช้การถลุงแร่
 7 ใช้ทำแก้ว

 การดูแลรักษา
ทรายเมื่อถูกดูดขึ้นมาจากแม่น้ำ บ่อทราย งามขึ้นผ่านสายพายลำเลียง ใส่รถบรรทุก เพื่อนำไปจำหน่าย ส่วนที่ยังไม่ได้จำหน่ายต้องเก็บไว้ในพื้นที่แห้ง

ที่มาของหิน
หิน เป็นของแข็งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นสารผสมที่เกิดจากการเกาะตัวกันแน่นของแร่ตั้งแต่ 1 ชนิดขึ้นไป หรือ เป็นสารผสมของแร่กับแก้วภูเขาไฟ หรือ แร่กับซากดึกดำบรรพ์ หรือของแข็งอื่น ๆ หินมีหลายลักษณะ รูปร่างที่แตกต่างกันออกไป มีสีสันที่ต่างกันออกไป ตามถิ่นที่อยู่

ประเภทของหิน
1.หินอัคนี
2.หินตะกอน
3.หินแปร



 ประโยชน์ของหิน มนุษย์นำหินมาใช้ประโยชน์ในงานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบ และคุณสมบัติเฉพาะตัวของหินนั้นๆ ได้แก่ แร่ โครงสร้าง ความเป็นกรด ความแกร่ง และความสวยงาม
หินแกรนิต เป็นหินที่ความทนทานสูง จึงนิยมในการก่อสร้าง เช่น ทำพื้น ทำหลังคา นอกจากนี้หินแกรนิตมีเนื้อแข็งจึงนิยมทำครก

หินชนวน เป็นหินที่ความทนทานสูงเช่นกัน จึงนิยมในการก่อสร้าง เช่น ทำพื้น ทำหลังคา ในสมัยโบราณใช้ทำกระดานชนวน

หินอ่อน ใช้ในการตกแต่งตัวอาคารให้สวยงาม และทำของใช้ที่ต้องการความสวยงาม เช่น ใช้ทำพื้น ผนังบ้าน โต๊ะหินอ่อน หินประดับ กรอบรูป

หินปูน ใช้ในการก่อสร้าง ทำถนนและทำรางรถไฟ และยังใช้เป็นส่วนประกอบหลักในการผลติปูนซีเมนต์เช่นเดียวกับหินดินดาน

หินศิลาแลง มีสีน้ำตาลแดง มีรูพรุน
ที่มาของดิน
ดิน คือ วัตถุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจากการสลายตัวทางกายภาพ และทางเคมีของหินและแร่ รวมกับสารอินทรีย์ ที่เกิดจากการสลายตัวของซากพืชซากสัตว์เป็นผิวชั้นบนที่ห่อหุ้มโลก ซึ่งดินจะมีลักษณะและคุณสมบัติต่างกันไปในที่ต่างๆ ตามสภาพภูมิอากาศ ภูมิประเทศ วัตถุต้นกำเนิด สิ่งมีชีวิตและระยะเวลาการสร้างตัวของดิน




คุณสมบัติของดิน

1. สีของดิน
2. เนื้อของดิน
3. โครงสร้างของดิน
4. ภาพหน้าตัดของดิน

    4.1 ดินชั้นบน (topsoil)
    4.2 ดินชั้นรอง (subsoil)
    4.3 ดินชั้นล่าง (subtratum)
    4.4 ชั้นหินฐาน (base rock)

ประโยชน์ของดิน

1.ดินทำหน้าที่เป็นที่ให้รากพืชได้เกาะยึดเหนี่ยวเพื่อให้ลำต้นของพืชยืนต้นได้อย่างมั่นคง แข็งแรง

2.ดินเป็นแหล่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช ทั้งนี้เนื่องจากธาตุอาหารพืชจะถูกปลดปล่อยออกจากอินทรียวัตถุ และแร่ต่างๆ ที่เป็นองค์ประกอบของดิน ให้อยู่ในรูปที่รากพืชสามารถดึงดูดไปใช้ประโยชน์ได้ง่าย

3.ดินเป็นแหล่งที่เก็บกักน้ำหรือความชื้นในดิน  ให้อยู่ในรูปที่รากพืชสามารถดึงดูดได้ง่าย เพื่อนำไปหล่อเลี้ยงลำต้นและสร้างการเจริญเติบโต

4.ดินเป็นแหล่งที่ให้อากาศ

                             ภาพบรรยากาศในห้องเรียน


                                                                                           
   แบ่งตามกลุ่มเพื่อค้นหาข้อมูล


และอาจารย์ให้แต่ละกลุ่ม หาของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ของหัวข้อที่แต่ละคนได้บ   กลุ่มละ 1 ชิ้น





           
 นางสาวเบญจวรรณ ปานขาว
                                              รหัสนักศึกษา 6011200786
                                               เวลาเรียน 8.30 - 12.30
                                                     กลุ่ม 101


2st learning record

                                                             14 August 2019



                 อาจารย์สอนเรื่องประสาทสัมผัสที่มือ เพื่อให้เราฝึกสมาธิในการจดจ่อ เช่นมือขวากำมือซ้ายแบ เพราะฉะนั้นพอพูดจังหวะ 2 ค่อยทำพร้อมกัน คนละอย่าง และจะยุ่งยากมากขึ้น สมองจะต้องจดจ่อมากขึ้น พอเสร็จแล้วเอามือซ้ายมาปิด เอามือซ้ายกับมือขวาแบ ก็สลับกันไป ทำแบบนี้เรื่อยๆจนครบ 1 ชุด 1 ชุดมีท่าอะไรบ้าง
 1. ซ้ายกับขวาปิด
 2. ขวากำซ้ายแบ
 3. ขวากำซ้ายปิด
 การเปรียบถึง เรายังไม่รู้จนกว่าเราจะทำชุดที่ 2 เพราะฉะนั้นการทำอย่างนี้ชุดที่ 1 เราจะบอกไม่ได้ว่ามันเป็นชุดหรือยังจนกว่า เราจะทำชุดที่ 2 เป็นเรื่องการทดสอบสติปัญญา เรื่องของอนุกรม อาจารย์ทรอดแทรกวิธีสอนให้กับเรา สิ่งที่อาจารย์ให้ไปสรุปได้ไหม แนวทางในการจัประสบการณ์
 1. การนำวิธีนี้ไปใช้สงบเด็ก
การทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก โดยใช้เพลงเป็นสื่อ ในการให้เด็ก ทำกิจกรรม ที่ส่งเสริมกับการทำงานของสมอง ทั้งสองเส้นโดยมี ลักษณะ โดยใช้เพลงเป็นสื่อเพื่อให้เด็กได้ แสดงออกในการใช้ แสดงออกทางพฤติกรรมโดยใช้อวัยวะ สั่งการทำงานของสมองทั้ง 2 ซีก และทางนี้เราพูดถึงสื่อการสอนวิธีการสอน
 1. โดยใช้สื่อเข้ามา
 2. การทำงานของสมอง วิธีที่เกิดทำให้เกิดการเรียนรู้ คือการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การกระทำหรือการเล่น ต้องสอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก ทางในการจัดประสบการณ์หรือส่งเสริม การเรียนรู้ของเด็กต้องจัดให้ สอดคล้องกับการจากง่ายไปยาก จากไม่ซับซ้อนไปสู่ความซับซ้อน ที่จะต้องสอดคล้องกับพัฒนาการ หรือความสามารถของเด็กในการทำกิจกรรม
ถ้าเด็กยังไม่เกิดการเรียนรู้ก็คือเด็กยังไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือที่มาของคำว่าวัดและประเมินผล ถ้าทำแล้วเด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงนั่นคือวิธีสอนของเรา ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้

 "งานกลุ่มที่ได้รับมอบหมายไหม"
แหล่งที่มา คุณลักษณะคุณสมบัติ ประโยชน์ และโทษ ของ หินดินทรายน้ำ




                                                        "ภาพบรรยากาศในการเรียน"


คำศัพท์
VOCABULARY

                                                 1.development    พัฒนาการ
                                 2.development     เครื่องกล
                                 3.attribute             คุณลักษณะ
                                 4.property             คุณสมบัติ
                                 5.Learning             การเรียนรู้



                                                                            ผู้บันทึก 

                                                          นางสาวเบญจวรรณ ปานขาว
                                        รหัสนักศึกษา 6011200786
                                          เวลาเรียน 8.30 - 12.30
                                                     กลุ่ม 101
                                                             

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2562

1st learning record

                                                         7 August 2019

                     วันนี้เป็นการเรียนวันแรกของรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอาจารย์ได้อธิบายของรายวิชานี้และให้จัดทำบล็อกเพื่อบันทึกการเรียนรู้แต่ละครั้งลงในบล็อกนี้อาจารย์ได้บอกว่าในบล็อกควรมีอะไรบ้างเช่น

- คำศัพท์

- มหาวิทยาลัย

- คณะและสาขาวิชา

- สื่อ

- บทความ

- วิจัย

- คำศัพท์นี้อาจารย์ให้หาอย่างน้อย 5 คำ

                                    VOCABULARY
1.SCIENCE    วิทยาศาสตร์
2.RESEARCH  วิจัย
3.EXPERIENCE ARRANGEMENT     การจัดประสบการณ์
4.ARTICLE บทความ
5.MEANING ความหมาย

สรุปบทความวิจัย

                           7 August 2019

สาระวิทยาศาสตร์จำแนกเป็น 4 หน่วยดังนี้

หน่วยที่ 

 1 การสังเกตโลก
 2 การรับรู้ทางประสาทสัมผัสและการเรียนรู้หน่วยที่
 3 รู้ทรงและสิ่งที่เกี่ยวข้องหน่วยที่
 4 การจัดหมวดหมู่และการจำแนกประเภท
ในการเรียนรู้หน่วยวิทยาศาสตร์ทั้ง 4หน่วยดังกล่าวเด็กต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ได้แก่ทักษะการสังเกตการจำแนกประเภทการสื่อความหมายและทักษะการลงความเห็นการเรียนวิทยาศาสตร์ไม่ใช่การเปรียบเทียบมิติเดียวเหมือนอย่างเช่นคณิตศาสตร์แต่การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อหาข้อสรุปคำตอบซึ่งเด็กสามารถเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวได้หากผู้จัดสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับพัฒนาการเด็กทักษะพื้นฐานและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้โดยครูกับเด็กช่วยกันคิดและปฏิบัติเป็นกระบวนการเริ่มจากขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 5

 ขั้นที่ 1 กำหนดขอบเขตของปัญหาครูกับเด็กร่วมกันคิดตั้งประเด็นปัญหาสิ่งที่ต้องการเรียนร่วมกันเช่นต้นไม้โตได้อย่างไร
ขั้นที่ 2 ตั้งสมมติฐานเป็นขั้นของการวางแผนร่วมกันในการที่จะทดลองหาคำตอบจากการคาดเดาล่วงหน้าว่าถ้าจะเกิดเป็นต้น
ขั้นที่ 3 ทดลองและเก็บข้อมูลเป็นขั้นที่ครูกับเด็กร่วมกันดำเนินการตามแผนการทดลองตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ในข้อที่ 2
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลครูและเด็กนำผลการทดลองมาสนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันเช่นทำไมต้นไม้ปลูกพร้อมกันจึงโตไม่เท่ากัน
ขั้นที่ 5 สรุปผลคำตอบสมมติฐานว่าผลที่เกิดคืออะไรเพราะอะไรทำไมถ้าเด็กต้องการศึกษาจะกลับมา

                   
บทความที่1

14st learning recor                                        27 November 2019  การเรียนในครั้งอาจารย์ให้ทำเเผนผัง เรื่อง เทคนิคการสอน...