วันเสาร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2562

10st learning record

                                                   15 October  2019

                                       กิจกรรมที่1
สำหรับการเรียนในครั้งนี้นะคะอาจารย์ให้เตรียมอุปกรณ์มาทดลองจากสัปดาห์ที่ให้เเม่นเพื่อที่เราจะได้ลงพื้นที่ไปจัดกิจกรรมให้เด็กดูค่ะ
กลุ่มของดิฉันทำการทดลองภูเขาไฟลาวา









กิจกรรมที่2
อาจารย์เเจกกระดาษคนละ 1 แผ่น พับครึ่งหน้าเเรกให้เราวาดภาพอะไรก็ได้

ภาพที่ 1



ภาพที่ 2

ให้เราวาดภาพเหมือนเเต่เเตกกันเล็กน้อยพอเปิดภาพออกมาจะเห็นถึงความเเตกต่างว่าภาพเคลื่อนที่ได้






กิจกรรมที่ 3
วาดภาพหน้าเเรกเเละหน้าหลัง



กิจกรรมที่4 
ให้ทำของเล่นที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ 1 ชิ้น

ในทางวิทยาศาสตร์เเละ วิศวกรรมศาสตร์น้ำหนักหมายถึงหน่วยวัดน้ำหนักบนวัตถุอันเนื่องมาจากความโน้มถ่วง น้ำหนักมีความหมายเดียวกับมวล มักจะถือว่าน้ำหนักก็หมายถึงมวลและใช้หน่วยวัดของมวลเป็นหน่วยวัดของน้ำหนักด้วยเหตุผลว่าความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงบนพื้นผิวโลก อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักของวัตถุอยู่นิ่งบนพื้นผิวโลกต่อมวลของวัตถุ



ผู้บันทึกนางสาว เบญจวรรณ ปานขาว
เลขที่ 10 รหัสนักศึกษา 6011200786
สาขาการศึกษาปฐมวัย


9st learning record

                                              2 October 2019


 การเรียนในวันนี้นะคะ อาจารย์ให้ศึกษานอกห้องเรียน ให้ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ของรุ่นพี่



  การศึกษาปฐมวัย Project เรือ
 ในโปรเจคนี้ ก็จะมี

  1.  แผนการจัดประสบการณ์
  2. แผนการสอนแบบโครงการ
  3.  โครงร่างงานวิจัย
  4.  โครงการพัฒนาผู้เรียน
เเละจะมีพี่ๆเเต่ละจุดให้เราความรู้ในเรื่องต่างๆเเละดิฉันได้เข้าไปดูเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ เด็กปฐมวัย

การจัดประสบการณ์ประกอบไปด้วย

เป็นเรื่องของใช้ส่วนรมกับของใช้ส่วนตัว



1 ผลการเรียนรู้
รู้เข้าใจเกี่ยวกับการแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวม
สามารถคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตัวกับผลประโยชน์ส่วนรวมได้

2 จุดประสงค์การเรียนรู้

เด็กสามารถบอกความหมายของ ของใช้ส่วนตัวและของใช้ส่วนรวมได้
เด็กสามารถคิดแยกแยะระหว่างของใช้ส่วนตนและของใช้ส่วนรวมได้

3 สาระการเรียนรู้


ความรู้

ของใช้ส่วนตัวคือของใช้ที่มีเจ้าของเฉพาะแต่ส่วนของใช้ส่วนรวมได้แก่ของใช้ที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันทุกคนมีสิทธิ์ใช้ทุกคนต้องช่วยกันรักษา

ทักษะกระบวนการสมรรถนะที่เกิด

ความสามารถในการสื่อสารสนทนาโต้ตอบและเล่าเรื่องให้ผู้อื่นเข้าใจ
ความสามารถในการคิดเชิงเหตุผลโดยอธิบายเชื่อมโยงสาเหตุและผลที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์หรือการกระทำด้วยตนเอง

คุณลักษณะที่พึงประสงค์ค่านิยม

การปฏิบัติตนเบื้องต้นในการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม
การมีวินัยในตนเอง

4 การจัดประสบการณ์


 ขั้นตอนการจัดประสบการณ์


  1.     เด็กและครูร่วมกันร้องเพลงของใช้และสนทนาร่วมกันเกี่ยวกับของใช้ส่วนตัวและส่วนรวม
  2.    ให้เด็กสำรวจสิ่งของเครื่องใช้ที่เป็นของใช้ส่วนตัวและของใช้ส่วนรวมภายในและภายนอกห้องเรียน
  3.      ให้เด็กวาดภาพจากการสำรวจจำนวน 2 ภาพได้แก่ภาพของใช้ส่วนตัวและภาพของใช้ส่วนรวม
  4.          ขออาสาสมัครเด็กออกมานำเสนอภาพว่าจากการสำรวจโดยให้เด็กบอกว่าสิ่งที่ว่าอะไรคือของใช้ส่วนตัวและอะไรคือของใช้ส่วนรวม
  5.  เด็กและครูร่วมกันสนทนาเกี่ยวกับความหมายของใช้ส่วนตัว กับของใช้ส่วนรวมโดยครูใช้คำถาม

5.1 เด็กคิดว่าของใช้ส่วนตัวกับของใช้ส่วนรวมมันเหมือนกันหรือไม่อย่างไรของส่วนตัวคือของที่มีเจ้าของเฉพาะแต่ของส่วน รวมได้แก่ของที่ทุกคนเป็นเจ้าของร่วมกันทุกคนมีสิทธิ์ใช้ทุกคนต้องช่วยกันรักษา
6 เด็กและครูร่วมกันอภิปรายสรุปถึงความแตกต่างระหว่างของใช้ส่วนตัวกับของใช้ส่วนรวม




 สื่อการเรียนรู้แหล่งการเรียนรู้


  •  เพลงของใช้
  • ของใช้ส่วนตัวและของใช้ส่วนรวม
  •  กระดาษดินสอสี




5 การประเมินผลการเรียนรู้ 


 5.1 วิธีการประเมิน
สังเกตการตอบคำถามของเด็ก
5.2 เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน
แบบสังเกตการตอบคำถามของเด็ก
5.3 เกณฑ์การประเมิน
เด็กผ่านการประเมินระดับ 2 ขึ้นไปถือว่าผ่าน

6บันทึกหลังการจัดประสบการณ์

รูปภาพสื่อ










 คำศัพท์
 VOCABULARY
1. Benefit  ประโยชน์
2. Project  โปรเจค
3. Leaning Media  สื่อการเรียนรู้
4.Evaluation  การประเมินผล
5. Experience  การจัดประสบการณ์




ผู้บันทึกนางสาว เบญจวรรณ ปานขาว
เลขที่ 10 รหัสนักศึกษา 6011200786
สาขาการศึกษาปฐมวัย







วันอังคารที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2562

8st learning record

                                              18 September 2019




สำหรับการเรียนในครั้งนี้นะคะอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มทำการทดลองวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับปฐมวัยกลุ่มของดิฉันทำการทดลองเรื่องภูเขาไฟลาวา
โดยการทำทดลองในครั้งนี้เป็นบทบาทสมมุติ ให้เพื่อนๆเป็นเด็ก
เดี๋ยวเราไปรู้จักกับการทดลองกิจกรรมนี้กันเลยค่ะ

ภูเขาไฟลาวา



การทดลองถือเป็นกิจกรรมที่ช่วยฝึกทักษะการคิดให้กับเด็กปฐมวัยเพราะในธรรมชาติเด็กจะมีความอยากรู้อยากเห็นและตั้งคำถามกับสิ่งรอบตัวอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นคุณครูสามารถช่วยส่งเสริมให้เด็กได้ด้วยการหากิจกรรมทดลองวิทยาศาสตร์สนุกๆให้เด็กได้ทำค่ะ อย่างการทำกิจกรรมทดลองภูเขาไฟลาวาที่เด็กๆจะได้สนุกจากการลงมือทำจริงทุกขั้นตอนด้วยตัวเองและยังช่วยกระตุ้นให้เด็กๆเกิดความสนใจได้พัฒนาสติปัญญาและเกิดความคิดสร้างสรรค์ทั้งนี้การทดลองยังช่วยฝึกทักษะการสังเกตและทักษะการลงความเห็นผ่านการทดลองปฏิกิริยาทางเคมีที่น่าทึ่งอีกด้วยว่าแล้วก็อย่าช้ามาลงมือทำภูเขาไฟลาวากันเลยค่ะ




วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการทดลอง
อุปกรณ์การทดลองวิทยาศาสตร์




"ภูเขาไฟ ลาวา"

 1 ดินน้ำมันหรือแป้งโด
 2 เบคกิ้งโซดา
 3 น้ำส้มสายชู
 4 สีน้ำหรือสีผสมอาหาร
 5 ขวดน้ำพลาสติก
 6 ถาดหรือจานรอง (สำหรับทำเป็นฐานของภูเขาไฟ)
 7 ภาชนะสำหรับผสมสีน้ำ ส้มสายชู



 ขั้นตอนการทดลอง

 1 ก่อนเริ่มการทดลองให้คุณครู แนะนำวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ทำการทดลองเพื่อให้เด็กเกิดความสนใจแล้วถามเด็กๆถึงการทดลองในครั้งนี้ว่าจะทำอะไรและสิ่งที่เกิดขึ้นเกิดขึ้นได้อย่างไรพร้อมจดบันทึกคำตอบไว้เพื่อดูพัฒนาการของเด็กในการทดลองครั้งต่อไป


"การถามตอบกับเด็กๆจะเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ความคิดวิเคราะห์ช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากค้นหาคำตอบด้วยตัวเองและเป็นการฝึกทักษะการลงความเห็นผ่านข้อมูลหรือประสบการณ์เดิมให้กับเด็กๆได้อีกด้วยค่ะทั้งนี้คุณครูอาจให้เด็กๆตั้งสมมติฐานก่อนการทดลองโดยให้เด็กอาศัยการสังเกตความรู้และประสบการณ์เดิมเป็นพื้นฐาน ในคำตอบที่เด็กคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า"

2 หลังจากพูดคุยกับเด็กๆแล้วเราก็มาทำภูเขาไฟจำลองกันค่ะโดยให้เด็กๆนำขวดน้ำพลาสติกมาวางบนถาดหรือจานรองจากนั้นใช้ดินน้ำมันแปะตามขวดน้ำให้เป็นรูปทรงของภูเขาไฟให้เริ่มแผ่นดินน้ำมันจากฐานหรือจะลองไปถึงขอบปากขวดค่ะซึ่งในขั้นตอนนี้คุณครูสามารถให้เด็กๆตกแต่งภูเขาไฟตามจินตนาการได้เลยค่ะ

3 หลังจากทำภูเขาไฟจำลองเสร็จแล้วให้เด็กๆใช้สีผสมอาหารมาผสมกับน้ำส้มสายชูโดยกะปริมาณน้ำส้มสายชูให้เกินครึ่งขวดน้ำที่ใช้ทำภูเขาไฟนะคะเพราะถ้าใส่น้ำส้มสายชูน้อยเวลาที่ Lava พุ่งออกมาจะไม่ค่อยสูงและทำให้ปริมาณของลาวาที่ไหลออกมาค่อนข้างน้อย

4 นำน้ำส้มสายชูที่ผสมกับสีผสมอาหารเสร็จแล้วเทลงไปในภูเขาไฟจำลองที่เตรียมไว้ทั้งนี้คุณครูต้องคอยระวังไม่ให้เด็กเทน้ำ สีหกด้วยนะคะ

5 แล้วก็มาถึงขั้นตอนที่ตื่นเต้นและสำคัญที่สุดนั้นคือการเทเบกกิ้งโซดาลงภูเขาไฟค่ะซึ่งบคกิ้งโซดาจะทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชูที่เราเทไว้ก่อนหน้านี้ทำให้เกิดควนและมีลาวาไหลออกมาจากภูเขาไฟของเรานั่นเองในการทดลองภูเขาไฟลาวาคุณครูสามารถให้เด็กเท เบคกิ้งโซดาได้เรื่อยๆจนกว่าน้ำส้มสายชูภายในภูเขาไฟจะหมดหรือส่วนผสมทั้ง 2 อย่างจะหมดปฏิกิริยาค่ะในการเทบางครั้งเราอาจไม่ได้ปะทุขึ้นมาทันทีคุณครูสามารถใช้โอกาสนี้ในการสอนเด็กๆให้รู้จักเรียนรู้การรอคอยได้อีกด้วยค่ะ

"เมื่อเด็กๆทำกิจกรรมเสร็จแล้วเด็กและคุณครูพูดคุยถึงการทดลองที่ผ่านมาว่าเกิดอะไรขึ้นบ้างและให้เด็กๆพูดตามขั้นตอนที่ได้ทดลองว่ามีอุปกรณ์ขั้นตอนเป็นอย่างไรเกิดอะไรขึ้นบ้างและเกิดขึ้นได้อย่างไรตามความรู้ความเข้าใจของเด็กเอง"

"สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับการทำกิจกรรมคือการเปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นและคิดอย่างมีอิสระให้เด็กเรียนรู้จากสิ่งต่างๆผ่านการลงมือทำนเด็กๆจะได้สนุกและเรียนรู้อย่างเต็มที่เพื่อพัฒนาที่ดีของเด็กต่อไป"




ข้อควรรู้
ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นเป็นผลจากการทำปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างเบกกิ้งโซดา(ด่าง/เบส)และน้ำส้มสายชูสายชู(กรด)ทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดันตัวออกนี้เองที่ทำให้เกิดภูเขาไฟลาวาของเรานั่นเองค่ะ

รูปภาพกิจกรรมบรรยากาศในการทำการทดลอง










บรรยากาศภายในห้องเรียนเหมาะสมดีค่ะเพื่อต่อการเรียนรู้ภายในห้องเรียนมีการถามตอบทำความเข้าใจไปพร้อมกันได้ดีค่ะ ส่วนครูผู้สอนนั้นคอยให้คำแนะนำอยู่ตลอด และเพื่อนๆภายในห้องเรียนทำหน้าที่บทบาทสมมุติได้ดีค่ะและช่วยกันแสดงความคิดเห็น ได้ดีค่ะ



 คำศัพท์
 VOCABULARY
1.Lava volcano  ภูเขาไฟลาวา
2.Carbon dioxide  ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
3.Reaction  ปฏิกิริยาเคมี
4.Test   ทดลอง
5.Baking soda   เบคกิ้งโซดา
6.Acid  กรด
7.Alkali  ด่าง
8.Bass   เบส
9.The ingredients ส่วนผสม
10.Development   พัฒนาการ


ผู้บันทึกนางสาว เบญจวรรณ ปานขาว
เลขที่ 10 รหัสนักศึกษา 6011200786
สาขาการศึกษาปฐมวัย









วันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2562

7st learning record

                                               11September 2019


สำหรับการเรียนในครั้งนี้นะคะอาจารย์ให้ นักศึกษาแบ่งกลุ่ม เมื่อจับกุมได้แล้วอาจารย์จะให้กระดาษ แต่ละกลุ่ม ให้หัวข้อ การเรียนในครั้งนี้ให้นักศึกษาว่าสถานที่หรือแหล่งแม่น้ำ ที่ตนเองสนใจ วาดลงใส่กระดาษ แล้วหลังจากนั้นให้นำมาเสนอหน้าห้องเรียน
สำหรับกลุ่มของดิฉันนะคะกลุ่มของดิฉันสนใจเรื่องเขื่อนลำตะคองค่ะ




 สิ่งที่น่าสนใจ: บริเวณขอบอ่าง ล้อเรียบไปกับถนนมิตรภาพเป็นผืนน้ำกว้างใหญ่ไพศาลสุดสายตามีภูเขาโอบล้อมเป็นทิวทัศน์ที่สวยงามโดยเฉพาะช่วงตะวันขึ้นและลอยต่ำนำแสงตะวันที่ตกสู่ผิวน้ำจะทำให้งดงามชวนมองมากขึ้นเป็นเสน่ห์และเอกลักษณ์ของการยืนโคราชอย่างหนึ่งโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวไม่จำเป็นต้องเข้าไปถึงตัวเขื่อนบริเวณขอบอ่างเก็บน้ำริมเขื่อนถนนมิตรภาพมีจุดแวะชมวิวหลายแห่งบางแห่งมีร้านอาหารหลายร้านให้นักท่องเที่ยวเลือกรับประทานพร้อมกับชมวิวอาหารที่โดดเด่น








สิ่งที่สะท้อนให้กับเด็กคือ เอาตั้งคำถามเกี่ยวกับรูปภาพแล้วให้เด็กตอบว่าในรูปภาพนั้นมีอะไรบ้างหรือบางครั้งอาจจะเป็นสิ่ง ที่เด็กเคยเห็นหรือเป็นสถานที่ที่เด็กเคยไปแล้ว เด็กเขาก็จะตอบจากสิ่งที่เคยเห็นเช่นประสบการณ์เดิม


และสิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมในครั้งนี้

1. ความสามัคคี
                  2. การทำงานร่วมกับผู้อื่น
                 3. การแสดงความคิดเห็น
                                  4. การอธิบายบรรยายเรื่องราวต่างๆ
 5. การนำเสนอ




รูปภาพบรรยากาศในการเรียน

















กิจกรรมที่ 2 

อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มมาหยิบกระดาษหนังสือพิมพ์ กลุ่มละ 20 แผ่น แล้วให้นักศึกษา แปรงกระดาษหนังสือพิมพ์ ให้ทำเป็นแท่งน้ำ โดยมีพานเป็นตัวกำหนด ให้นักศึกษาทำยังไงก็ได้ ให้ทานตั้งได้






สำหรับการเรียนในครั้งนี้นะคะอาจารย์ ให้นักศึกษา ได้ทำ 2 กิจกรรม แต่ละกิจกรรมนั้นซื้อให้เกิดการเรียนรู้ที่ดี รู้จักความสามัคคีภายในกลุ่ม การแสดงความคิดเห็น บรรยากาศภายในห้องเรียนเพื่อต่อการเรียนรู้ ภายในห้องเรียนมีการถามตอบทำความเข้าใจไปพร้อมกันได้ดีค่ะ





 คำศัพท์
 VOCABULARY
1.Resrvoir    อ่างเก็บน้ำ
2.Harmonious  สามัคคี
3.Question   คำถาม
4.Newspaper    หนังสือพิมพ์
5.Previous experience    ประสบการณ์เดิม






ผู้บันทึกนางสาว เบญจวรรณ ปานขาว
เลขที่ 10 รหัสนักศึกษา 6011200786
สาขาการศึกษาปฐมวัย


14st learning recor                                        27 November 2019  การเรียนในครั้งอาจารย์ให้ทำเเผนผัง เรื่อง เทคนิคการสอน...